• ผู้ดูแลระบบ

  • สถิติการเข้าชม

    • 166,089 hits
  • ปฏิทินปฏิบัติงาน

    พฤศจิกายน 2011
    อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
     12345
    6789101112
    13141516171819
    20212223242526
    27282930  
  • เป็น Fanpage กันเถอะ

  • QR CODE

วันพ่อแห่งชาติ

วันพ่อแห่งชาติ 

                ความเป็นมาของวันพ่อแห่งชาติ วันพ่อแห่งชาติ ได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรก เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2523 โดยคุณหญิงเนื้อทิพย์ เสมรสุต นายกสมาคมผู้อาสาสมัครและช่วยการศึกษาเป็นผู้ริเริ่ม

ดอกพุทธรักษา สัญลักษณ์วันพ่อแห่งชาติ

ดอกพุทธรักษาดอกไม้ที่มีนามเป็นมงคลนี้เป็นสัญลักษณ์

วัตถุประสงค์ของการจัดวันพ่อแห่งชาติ

1. เพื่อเทิดทูนพระเกียรติคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
2. เพื่อเทิดทูนพระณของพ่อ และยกย่องบทบาทของพ่อที่มีต่อครอบครัวและสังคม
3. เพื่อให้ลูกได้แสดงความกตัญญูต่อพ่อ
4. เพื่อให้ผู้เป็นพ่อได้สำนึกในหน้าที่และความรับผิดชอบของตน

กิจกรรมที่ควรปฎิบัติในวันพ่อแห่งชาติ
1. ประดับธงชาติที่อาคารบ้านเรือน
2. จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการบำเพ็ญประโยชน์หรือทำบุญใส่บาตร เพื่ออุทิศส่วนกุศลและระลึกถึงพระคุณพ่อ
3. จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการส่งเสริมยกย่องผู้ที่ สมควร ได้รับการยกย่องว่าเป็นพ่อ ตัวอย่าง

สำหรับคุณสมบัติของพ่อตัวอย่าง คณะกรรมการได้กำหนดไว้ดังนี้
1. มีอายุตั้งแต่ 40 ปี ขึ้นไป
2. ส่งเสริมการศึกษาแกบุตรและธิดา
3. นับถือศาสนาโดยเคร่งครัด
4. งดเว้นอบายมุขทุกชนิด
5. อุทิศตนเพื่อประโยชน์ต่อประชาชน
6. มีภรรยาเพียงคนเดียว

หน้าที่ของบิดา มารดาพึงมีต่อบุตร

  • ห้ามมิให้ทำความชั่ว – ป้องกัน, ห้ามปราม มิให้ประพฤติเสียหาย
  • ให้ตั้งอยู่ในความดี – ปฏิบัติตนอยู่ในศีลธรรม วัฒนธรรมประเพณี และกฎหมายบ้านเมือง
  • ให้ศึกษาศิลปวิทยา – ส่งเสริมให้ได้รับการศึกษาทั้งคดีโลก และคดีธรรม
  • หาคู่ครองที่สมควรให้ – เลือกคู่ครองที่คู่ควร, เหมาะสมให้ในเวลาอันเหมาะสม
  • มอบทรัพย์สมบัติให้ดูแลเมื่อถึงเวลาอันสมควร – มอบภาระหน้าที่การงานให้บริหาร และมอบมรดกให้ครอบครอง

หน้าที่ของบุตรพึงมีต่อบิดามารดา

  • เลี้ยงดูบิดามารดาเป็นการตอบแทน – เลี้ยงดูพ่อแม่ยามแก่เฒ่าอย่าปล่อยให้ท่านอดรันทดใจในวัยชรา
  • ช่วยทำกิจการงานของท่าน – ไม่นิ่งดูดายเป็นคนไร้น้ำใจเข้าไปช่วยแบ่งเบาภาระหน้าที่
  • ดำรงวงศ์ตระกูล – ไม่ทำตระกูลให้เสื่อมและเสียหาย
  • ประพฤติตนให้สมควรได้รับทรัพย์มรดก – ประพฤติตนให้ท่านไว้ใจและวางใจ ที่จะครอบครองสมบัติ
  • ท่านเจ็บป่วยต้องรักษา ท่านมรณาต้องทำศพให้ – ทำความปรารถนาของพ่อแม่มิให้พังทลาย

วันที่ 5 ธันวาคม นอกจากจะเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และเป็นวันพ่อแห่งชาติแล้ว ยังถือว่าว่าวันนี้ เป็น วันชาติของไทย อีกด้วย

ที่มา : http://www.tlcthai.com

คู่มือการจ่าย

คู่มือการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย 5,000 บาท

ดาวน์โหลดขั้นตอนการดำเนินการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัย

ที่มา :  

ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศภูมิศาสตร์กรุงเทพมหานคร 

ครูคืนถิ่น

   คลิกดาวน์โหลดแบบฟอร์มครูคืนถิ่น

นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ครั้งที่ 9/2554 เมื่อวันที่ 17พฤศจิกายน 2554 ณ ห้องประชุมราชวัลลภ กระทรวงศึกษาธิการ โดยมีสาระสำคัญสรุปดังนี้

เห็นชอบหลักเกณฑ์และวิธีการย้าย “ครูคืนถิ่น”

รมว.ศธ.กล่าวว่า ที่ประชุมเห็นชอบในหลักเกณฑ์และวิธีการย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา กรณีย้ายครูคืนถิ่น โดยมีหลักเกณฑ์และวิธีการย้ายที่สำคัญ คือ

  • ใช้เฉพาะสายงานการสอน ให้ใช้เฉพาะสายงานการสอน โดยกำหนดเพิ่มเติมในการย้ายกรณีพิเศษ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตามหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ 0206.3/ว8 ลงวันที่ 5 กรกฎาคม 2549 โดยไม่ต้องยกเลิกหลักเกณฑ์และวิธีการย้ายดังกล่าว

  • คุณสมบัติของผู้ขอย้าย ต้องเป็นการขอย้ายกลับภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ของตนเอง หรือกลับภูมิลำเนา หรือถิ่นที่อยู่ของคู่สมรส หรือของบิดามารดาของตนเอง

  • ให้ยื่นคำร้องขอย้ายผ่านต้นสังกัดได้ครั้งเดียว ภายในเดือนธันวาคม 2554 เท่านั้น

  • รายละเอียดต่างๆ ศธ.จะมีการเปิดตัวโครงการ “ครูคืนถิ่น” ในวันที่ 1 ธันวาคม 2554


    ที่มา : ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี

วันลอยกระทง

วันลอยกระทง

This slideshow requires JavaScript.

               เป็นวันสำคัญวันหนึ่งของชาวไทย ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติไทย ตามปฏิทินจันทรคติล้านนา “มักจะ” ตกอยู่ในราวเดือนพฤศจิกายน ตามปฏิทินสุริยคติ  ในปีนี้ตรงกับวันที่ 10 พฤศจิกายน 2554  ประเพณีนี้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นการขอขมาต่อพระแม่คงคา บางหลักฐานเชื่อว่าเป็นการบูชารอยพระพุทธบาทที่ริมฝั่งแม่น้ำนัมทามหานที และบางหลักฐานก็ว่าเป็นการบูชาพระอุปคุตอรหันต์หรือพระมหาสาวก สำหรับประเทศไทยประเพณีลอยกระทงได้กำหนดจัดในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่ติดกับแม่น้ำ ลำคลอง หรือ แหล่งน้ำต่าง ๆ ซึ่งแต่ละพื้นที่ก็จะมีเอกลักษณ์ที่น่าสนใจแตกต่างกันไป

ในวันลอยกระทง ผู้คนจะพากันทำ “กระทง” จากวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ตบแต่งเป็นรูปคล้ายดอกบัวบาน ปักธูปเทียน และนิยมตัดเล็บ เส้นผม หรือใส่เหรียญกษาปณ์ลงไปในกระทง แล้วนำไปลอยในสายน้ำ (ในพื้นที่ติดทะเล ก็นิยมลอยกระทงริมฝั่งทะเล) เชื่อว่าเป็นการลอยเคราะห์ไป นอกจากนี้ยังเชื่อว่าการลอยกระทง เป็นการบูชาและขอขมาพระแม่คงคาด้วย

  • ภาคเหนือตอนบน นิยมทำโคมลอย เรียกว่า “ลอยโคม” หรือ “ว่าวฮม” หรือ “ว่าวควัน” ทำจากผ้าบางๆ แล้วสุมควันข้างใต้ให้ลอยขึ้นไปในอากาศอย่างบัลลูนประเพณีของชาวเหนือนี้เรียกว่า ยี่เป็ง หมายถึงการทำบุญในวันเพ็ญเดือนยี่(ซึ่งนับวันตามแบบล้านนา ตรงกับวันเพ็ญเดือนสิบสองในแบบไทย)
  • ภาคอีสาน ในอดีตมีการเรียกประเพณีลอยกระทงในภาคอีสานว่า สิบสองเพ็ง หมายถึงวันเพ็ญเดือนสิบสองซึ่งจะมีเอกลักษณ์แตกต่างกันออกไป เช่น
  • ภาคกลาง มีการจัดประเพณีลอยกระทงขึ้นทั่วทุกจังหวัด
  • ภาคใต้ อย่างที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ก็มีการจัดงานอย่างยิ่งใหญ่ นอกจากนั้น ในจังหวัดอื่นๆ ก็จะจัดงานวันลอยกระทงด้วยเช่นกัน

และในวันนี้เทศบาลตำบลโป่ง อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ก็ได้ประเพณีวันลอยกระทงเช่นกันซึ่งมีกิจกรรมต่าง ๆ มากมายให้ร่วมสนุก จึงขอเชิญทุกท่านเที่ยวงานประเพณีครั้งนี้ได้ที่  บริเวณอ่างเก็บน้ำมาบประชัน  หน้าเทศบาลตำบลโป่ง