• ผู้ดูแลระบบ

  • สถิติการเข้าชม

    • 166,087 hits
  • ปฏิทินปฏิบัติงาน

    ตุลาคม 2011
    อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
     1
    2345678
    9101112131415
    16171819202122
    23242526272829
    3031  
  • เป็น Fanpage กันเถอะ

  • QR CODE

น้ำท่วมกรุงเทพในอดีต

น้ำท่วมกรุงเทพ ปี 2485 (Bangkok floods in 1942)

ที่ผ่านมาพระนครบางกอกหรือกรุงเทพฯ เคยประสบอุทกภัยน้ำท่วมครั้งใหญ่มาแล้วหลายครั้ง ซึ่งที่เลวร้ายที่สุดน่าจะเป็นปี น้ำท่วมกรุงเทพฯ พ.ศ. 2485 โดยครั้งนั้น น้ำได้ท่วมตามสถานที่สำคัญต่างๆฯ ในกรุงเทพฯ เช่น สถานีรถไฟหัวลำโพง ถนนเยาวราช อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ภูเขาทอง ถนนราชดำเนิน อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ รวมถึงพระที่นั่งอนันตสมาคม

โดยมีภาพถ่ายเก็บไว้เป็นหลักฐาน และถูกเผยแพร่ตามอินเทอร์เน็จมาจนถึงปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม ยังมี น้ำท่วม กรุงเทพฯเกิดขึ้นอีกหลายครั้งต่อจากนั้น คือ

น้ำท่วม พ.ศ.2518 เนื่องจากพายุดีเปรสชั่นพาดผ่านตอนบนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้มีปริมาณน้ำสูงทางภาคกลางตอนบน เป็นเหตุให้น้ำไหลล้นเข้าท่วมกรุงเทพมหานคร

น้ำท่วม พ.ศ. 2521 เกิดจากพายุ 2 ลูก คือ “เบส” และ “คิท” พาดผ่าน ขณะเดียวกันมีปริมาณน้ำไหลบ่าจากแม่น้ำป่าสักเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดน้ำไหลบ่าจากทุ่งด้านตะวันออกของกรุงเทพมหานครเข้าท่วมพื้นที่ กรุงเทพมหานคร

น้ำท่วม พ.ศ. 2523 เกิดปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยามีระดับ สูงเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง ที่สะพานสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ 2.00 เมตร ประกอบกับมีฝนตกในพื้นที่กรุงเทพมหานครในช่วง 4 วัน สูงถึง 200 มม. ทำให้เกิดน้ำท่วมขัง

น้ำท่วมกรุงเทพ

นํ้าท่วม พ.ศ. 2526 จากอิทธิพลของฝนและนํ้าเหนือที่ไหลลงมา ทำให้กรุงเทพฯต้องตกอยู่ในสภาพนํ้าท่วมสูงกว่า1 เมตรนานหลายเดือน

น้ำท่วม พ.ศ. 2529 ได้เกิดฝนตกหนักมากและตกติดต่อกัน ตั้งแต่วันที่ 8 – 10 พฤษภาคม 2529 เนื่องจากได้มีพายุจรนำฝนตกในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยมีฝนตก 254 มม. ที่กรมอุตุนิยมวิทยา(บางกะปิ) และ 273 มม. ที่เขตราษฎร์บูรณะ ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน ในบางพื้นที่

น้ำท่วม พ.ศ. 2533 ในเดือนตุลาคมพายุโซนร้อน “อีรา” และ “โลล่า” พัดผ่านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้ฝนตกหนักที่กรุงเทพมหานครถึง 617 มม.

น้ำท่วม พ.ศ. 2537 ได้เกิดพายุฝนฤดูร้อนถล่มกรุงเทพมหานคร และปริมณฑลเมื่อวันที่ 7 และ 8 พฤษภาคม 2537 วัดปริมาณฝนได้มากที่สุด คือ เขตยานนาวาได้ 457.6 มม. โดยเฉลี่ยในทั่วเขตกรุงเทพฯ มีปริมาณน้ำฝน 200 มม. มากที่สุดในประวัติการณ์ เรียกได้ว่าเป็น “ฝนพันปี” ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันในหลายพื้นที่สร้างความเดือดร้อนไปทั่วกรุงเทพมหา นคร

น้ำท่วม พ.ศ. 2538 มีฝนตกในภาคเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากพายุหลายลูกพัดผ่าน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมเป็นต้นมา และมีสภาพฝนตกหนักในช่วงเดือนสิงหาคมถึงตุลาคม เนื่องจากพายุ “โอลิส” ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยามีระดับสูง โดยวัดที่สะพานสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2538 มีค่าระดับสูงถึง 2.27 เมตร (รทก.) ซึ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์(เท่าน้ำท่วมปี พ.ศ. 2485 ) ทำให้น้ำล้นคันป้องกันน้ำท่วมริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เข้าท่วมพื้นที่ริมแม่น้ำในระดับสูงถึง 50 – 100 ซ.ม.

น้ำท่วมกรุงเทพ

นํ้าท่วมปี 2549 เกิดอุทกภัยใน 47 จังหวัด ทั่วประเทศ ส่งผลให้หลายพื้นที่มีสภาพน้ำท่วมขัง ประกอบกับมีการผันน้ำเข้าเก็บกักเอาไว้ในพื้นที่ว่างเพื่อบรรเทาปัญหาน้ำ ท่วมโดยเฉพาะพื้นที่การเกษตรในจังหวัดชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี ลพบุรี และปทุมธานี รวมประมาณ 1.38 ล้านไร่ ต่อมาจังหวัดดังกล่าวไม่สามารถรับนํ้าได้ไหว นํ้าจึงไหลเข้าท่วมขังที่กรุงเทพฯ เกือบ 1 เมตร นานกว่าสัปดาห์

โดย ทีมข่าว Mthai


 credit : mthai.com

 

 

 

 

แกะติดสถานการณ์น้ำท่วม

แกะติดสถานการณ์น้ำท่ใมกรุงเทพมหานคร 2554

หมายเลขโทรศัพท์ที่เกี่ยวข้อง

• ขอความช่วยเหลือ สำนักนายกรัฐมนตรี ตลอด 24 ชั่วโมง   โทร.1111
• ตำรวจทางหลวง สอบถามเส้นทางน้ำท่วม ตลอด 24 ชั่วโมง  โทร. 1193
• ศูนย์ความปลอดภัย กรมทางหลวงชนบท โทร.1146
• รับแจ้งเหตุน้ำท่วม 24 ชั่วโมง สายด่วน ปภ. (กรมป้องกันและบรรเทา สาธารณภัย) โทร. 1784
• ศูนย์บริการข้อมูลผู้ใช้ไฟฟ้า สายด่วน กฟภ. โทร. 1129
• บริการแพทย์ฉุกเฉิน และนำส่งโรงพยาบาล โทร. 1669
• สอบถามเส้นทางเดินรถต่างจังหวัด  สายด่วน บขส. โทร.1490
• เช็คปริมาณน้ำขึ้น สายด่วน กรมชล. โทร.1460

ท้องผูก

ท้องผูก ต้องแก้ให้ถูกวิธี

ท้องผูกต้องแก้ให้ถูกวิธี (ชีวจิต)

ผู้ที่มีอาการท้องผูกมักจะรู้สึกไม่สบายท้อง บางรายอาจมีอาการคลื่นไส้เล็กน้อยร่วมด้วย เวลาเข้าห้องน้ำต้องออกแรงเบ่งมาก ซึ่งอาจทำให้เกิดความผิดปกติของระบบขับถ่าย เป็นริดสีดวงทวาร หรือแม้กระทั่งไส้ติ่งอักเสบ ที่สำคัญ อาการท้องผูกมักเป็นอาการหนึ่งเมื่อระบบลำไส้ใหญ่มีความผิดปกติ เช่น โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ริดสีดวงลำไส้ เป็นต้น

ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

อาการท้องผูกส่วนใหญ่มาจากการมีพฤติกรรมการกิน การขับถ่ายและการใช้ชีวิตประจำวันผิด ๆ ลองปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามคำแนะนำต่อไปนี้ดูนะคะ

 1.ดื่มน้ำ กินผัก ผลไม้ทั้งสดและแห้ง หรืออาหารที่มีกากใยมาก ๆ รวมทั้งข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีท ถั่ว ฟักทอง ข้าวโพด เป็นต้น ซึ่งอาหารเหล่านี้จะช่วยเพิ่มเส้นใยช่วยการขับถ่ายได้

 2.ไม่ควรเร่งรีบในขณะที่กินอาหาร ควรเคี้ยวอาหารให้ละเอียด หรือกินมะละกอสุกก่อนอาหาร และดื่มน้ำตามมาก ๆ นักธรรมชาติบำบัดเชื่อว่า การกินอาหารจากธรรมชาติเป็นวิธีที่ดีกว่า ซึ่งอาจทำได้โดยการกินรำข้าวเสริม โดยโรยลงไปบนอาหาร

 3.ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อกระตุ้นการทำงานของกระเพาะอาหารและกล้ามเนื้อหลัง ซึ่งจะช่วยให้ลำไส้เคลื่อนไหวดีขึ้น

 4.อย่ากลั้นอุจจาระ ควรเข้าห้องน้ำทุกครั้งที่รู้สึกปวด หรือหลังจากที่กินอาหารเช้าที่เป็นธัญพืช โดยพยายามนั่งถ่ายอย่างผ่อนคลายประมาณ 10 นาที หรือฝึกนิสัยการขับถ่ายเป็นเวลาให้ตัวเอง

 5.สำหรับทารกหากมีอาการท้องผูก อาจเพิ่มน้ำตาลประมาณ 1 ช้อนชาในนม 1 ขวด จะช่วยให้ถ่ายบ่อยขึ้น แต่ถ้าให้น้ำตาลมากเกินไป อาจทำให้ท้องเสีย ส่วนในผู้สูงอายุควรถ่ายอุจจาระเป็นเวลา ถ้าจำเป็นอาจต้องให้ยาเพิ่มปริมาณอุจจาระ ยาระบาย ใช้ยาเหน็บ หรือสบู่เหน็บ จนกว่าการขับถ่ายเป็นปกติ

 6.ถ้าท้องผูกจนต้องเบ่ง และทำให้รู้สึกไม่สบาย อาจทำให้อุจจาระนุ่มลง โดยใช้ยาเหน็บกลีเซอริน (ขนาดสำหรับเด็ก) หรือสบู่ชิ้นเล็กยาว 13 มิลลิเมตร สอดเข้าทางทวารหนัก แต่ถ้าอาการไม่ดีขึ้นควรปรึกษาแพทย์ทันที

แก้ท้องผูกด้วยสมุนไพร

 มะขาม กินมะขามฝักแก่ หรือมะขามเปียก 10-20 ฝัก จิ้มเกลือ หรือคั้นเป็นน้ำดื่ม

 ขี้เหล็ก นำแก่น 50 กรัม ราก ลำต้น ดอก ใบ และผลของขี้เหล็ก รวมทั้งหมด 20-25 กรัม ไปต้ม เอาแต่น้ำ ดื่มก่อนอาหารหรือก่อนนอน

 มะเฟือง ขณะท้องว่างประมาณ 1 ชั่วโมง กินมะเฟืองที่มีรสเปรี้ยว 2-3 ลูก นอกจากจะเป็นยาระบายได้แล้ว มะเฟืองยังช่วยลดกรดในกระเพาะอาหารได้อีกด้วย

 เมล็ดชุมเห็ดไทย นำเมล็ดชุมเห็ดไทยประมาณ 1 กำมือ มาคั่วให้เหลือง แล้วนำมาต้มในน้ำสะอาดปริมาณ 1-2 แก้วจนเดือด นอกจากจะช่วยระบายท้องแล้ว เมล็ดชุมเห็ดไทยยังมีสรรพคุณช่วยให้นอนหลับสบาย

ดูแลตัวเองด้วยการแพทย์แผนไทย

ศาสตร์ทางด้านการแพทย์แผนไทย ก็มีสูตรที่น่าสนใจให้ลองปฏิติบัติเช่นกันค่ะ

 1.รำข้าว สามารถดูดซับน้ำไว้ได้ถึงเก้าเท่าของน้ำหนักตัวมันเอง จึงช่วยให้ลำไส้เคลื่อนไหวได้ดี การเติมรำข้าวลงไปในอาหารจะช่วยให้ถ่ายสะดวก แต่ต้องดื่มน้ำตามให้มากขึ้น เพื่อช่วยให้ลำไส้ทำงานได้ดี ควรกินรำข้าววันละ 1-3 ช้อนโต๊ะ และดื่มน้ำตามเสมอ

 2.สำหรับการรักษาในระยะยาว ไม่ควรพึ่งรำข้าวเพียงอย่างเดียว เพราะรำข้าวมีส่วนประกอบบางอย่าง ที่ขัดขวางไม่ให้ร่างกายดูดซึมเกลือแร่บางชนิด และยังทำให้ท้องมีลมมากหรือท้องอืด แต่อาการนี้จะหายไปเองภายใน 1-2 สัปดาห์

 3.กินอาหารหมักดองต่าง ๆ เช่น ผักเสี้ยนดอง หน่อไม้ดอง หัวหอมดอง หรืออาหารหมักดองโบราณ ที่ใช้น้ำซาวข้าวในการดอง

ท่าแถม…ทำง่ายถ่ายคล่อง

การรำกระบอง นอกจากจะสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของต่อมลูกหมากในผู้ชาย รังไข่ และมดลูกในผู้หญิงแล้ว ยังช่วยในเรื่องของระบบขับถ่ายได้อีกด้วย เนื่องจากจุดประสาทบริเวณก้นกบ จะบังคับระบบขับถ่าย การเคลื่อนไหวของกระเพาะปัสสาวะ และลำไส้ใหญ่

 1.ยืนตัวตรง กางขาเล็กน้อย

 2.นำกระบองไว้ด้านหลัง ลำตัวบริเวณบั้นเอว โดยใช้วงแขนสองข้างคล้องกระบองเอาไว้ ฝ่ามือประสานกันไว้ด้านหน้า หรือฝ่ามือแนบวางราบกับหน้าท้องก็ได้

 3.เขย่งให้ส้นเท้าขึ้นสูงสุดเท่าที่จะทำได้

 4.ลดตัวลงนั่ง โดยยังคงเขย่งส้นเท้าอยู่ ตามองตรง ไม่ก้มหน้า ไหล่ตรงผึ่งผาย ลำตัวตั้งตรง แล้วขย่มตัวให้ก้นแตะส้นเท้า 3 ครั้ง จากนั้นยืนขึ้น โดยเขย่งส้นเท้าอยู่ตลอดเวลา

 5.เมื่อตัวตั้งตรงแล้ว ลดส้นเท้าลงสู่พื้น นับเป็นหนึ่งครั้ง

 6.ทำซ้ำตั้งแต่ข้อ 3 – 5 ให้ครบ 30-50 ครั้ง

ขอบคุณข้อมูลจาก : ชีวจิต

กรอบกลางการเขียนงานวิจัย

กรอบกลางการเขียนงานวิจัย

*********************************

ในการเขียนโครงการวิจัยและบทนำ มีกรอบกลางที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อต่าง ๆ ที่เป็นแนวทางสำหรับดำเนินการเขียน ดังนี้

1. การตั้งชื่อเรื่อง/หัวข้อวัย ให้มีองค์ประกอบ 4 ประการตามแนว SOSE 

– เรื่องที่จะวิจัย (Subject) เช่น ชุดการสอน แบบจำลอง ระบบการสอน และเนื้อหาสาระ

– สิ่งที่หรือผู้ถูกวิจัย หรือกลุ่มตัวอย่าง (Object) เช่น นักเรียน เครื่องมือที่เป็นต้นแบบชิ้นงานวิจัย

– สถานการณ์ บริบท หรือสภาพแวดล้อมที่จะวิจัย (Setting) เช่น ห้องเรียน โรงเรียน เขตการศึกษา กลุ่มโรงเรียน

– ผลที่เกิดขึ้นจากการวิจัย (Effects) เช่น ประสิทธิภาพ ความก้าวหน้าในการเรียนผลสัมฤทธิ์

2. การเขียนความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา ให้มีองค์ประกอบ 5 ส่วน หรือ IPESA คือ

– ส่วนที่ 1 สภาพที่พึงประสงค์เกี่ยวกับเรื่องที่จะวิจัย (Ideal Situation-I)

– ส่วนที่ 2 สภาพที่เป็นอยู่ปัจจุบัน (Present Conditions-P)

– ส่วนที่ 3 สภาพปัญหาที่เกิดขึ้น (Existing Problems-E)

– ส่วนที่ 4 ความพยายามในการแก้ปัญหา โดยยกงานวิจัยที่มีผู้ทำวิจัยไว้แล้ว (Solutions-S)

– ส่วนที่ 5 แนวทางที่ผู้วิจัยคิดจะดำเนินการวิจัยเพื่อช่วยแก้ปัญหา หรือคิดค้นเทคนิควิธีการใหม่ที่จะทำให้การดำเนินงานดีขึ้น (Aims of Research-A)

3. การเขียนวัตถุประสงค์การวิจัย จำแนกเป็น 2 ส่วนคือ วัตถุประสงค์ทั่วไป และวัตถุประสงค์เฉพาะ

4. การตั้งสมมติฐานการวิจัย ต้องมีลักษณะดังนี้

– สอดคล้องกับประเด็นปัญหาในการวิจัย

– สามารถทดสอบได้ด้วยเครื่องมือที่มีความเที่ยงตรงและเชื่อถือได้

– ต้องเขียนข้อความเป็นปรนัยกรอบทฤษฏี หรือผลงานวิจัยที่ผ่านมาแล้ว ทำให้สมมติฐานมีความน่าจะเป็นไปได้

5. การเขียนขอบเขตการวิจัย ให้ระบุรายละเอียดของเขบเขตที่จะดำเนินการวิจัยในประเด็นต่อไปนี้

– รูปแบบการวิจัย

– ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ให้กำหนดว่า ประชากรคือใคร อยู่ที่ไหน จะใช้ในการสุ่มตัวอย่างเมื่อไร จำนวนเท่าใด ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบใดจึงจะเป็นตัวแทนของประชากร

– ขอบข่ายเนื้อหาสาระของเรื่องที่จะทำวิทยานิพนธ์

– ระยะเวลา/ช่วงเวลาที่จะดำเนินการวิจัย

– เครื่องมือวิจัย จำแนกเป็น 5 ประเภท ตามแนว PACIS

6. ข้อตกลงเบื้องต้น(ถ้ามี)

7. นิยามศัพท์เฉพาะ

– คำหลักที่ใช้จากหัวข้อวิจัย

– คำที่เกี่ยวข้องกับคำหลัก

– คำที่เกี่ยวข้องกับขอบเขตการวิจัย

8. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 

ที่มา : แผนกิจกรรมการกศึกษา ชุดวิชาการวิจัยเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา มสธ.